เมนู

สูตรที่ 16



[423] 177. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม 2 อย่าง 2 อย่าง
เป็นไฉน คือ ความเป็นคนหลงลืมสติ 1 ความไม่รู้สึกตัว 1 ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย ธรรม 2 อย่างนี้แล.
จบสูตรที่ 16

สูตรที่ 17



[424] 178. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม 2 อย่างนี้ 2 อย่าง
เป็นไฉน คือ สติ 1 สัมปชัญญะ 1 ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม 2
อย่างนี้แล.
จบสูตรที่ 17
จบสมาปัตติวรรคที่ 5
จบตติยปัณณาสก์

สมาปัตติวรรค1ที่ 5



อรรถกถาสูตรที่ 1



สมาปัตติวรรคที่ 5 สูตรที่ 1

(ข้อ 408) มีวินัยดังต่อไปนี้.
บทว่า สมาปตฺติกุสลตา ได้แก่ความเป็นผู้ฉลาดในการกำหนด
อาหารสัปปายะเข้าสมาบัติ. บทว่า สมาปตฺติวุฏฺฐานกุสลตา ความว่า
เมื่อได้เวลาตามกำหนดเป็นผู้ฉลาดออก. ชื่อว่าเป็นผู้ฉลาดในการออกจาก

1. วรรคนี้ประกอบด้วยพระสูตร 18 สูตร อรรถกถาแก้ไว้สั้น ๆ จึงลงติดต่อกันไปทั้งวรรค
โดยลงหัวข้อบาลีประจำสูตรประจำสูตรกำกับไว้ด้วย.

สมาบัติ เพราะฉะนั้น ผู้นี้ชื่อว่าฉลาด ดังนี้.
จบอรรถกถาสูตรที่ 1

อรรถกถาสูตรที่ 2



ในสูตรที่ 2 (ข้อ 409) มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า อาชฺชวํ แปลว่า ความตรง. บทว่า มทฺทวํ แปลว่า
ความอ่อนโยน.
จบอรรถกถาสูตรที่ 2

อรรถกถาสูตรที่ 3



ในสูตรที่ 3 (ข้อ 401) มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า ขนฺติ ได้แก่ อธิวาสนขันติ. บทว่า โสรจฺจํ ได้แก่
ความเรียบร้อย ความสงบเสงี่ยม.
จบอรรถกถาสูตรที่ 3

อรรถกถาสูตรที่ 4



ในสูตรที่ 4 (ข้อ 411) มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า สาขลฺยํ ได้แก่ ความชื่นชมโดยใช้วาจาอ่อนหวาน.
บทว่า ปฏิสนฺถาโร ได้แก่ การต้อนรับด้วยอามิสก็ตาม ด้วยธรรมก็ตาม
ชื่อว่าปฏิสันถาร.
จบอรรถกถาสูตรที่ 4